Everyday Thai language school  



่Join Everyday Thai language school on Facebook
   
Thai Courses French Lessons Tuition Fees Teaching Materials Contact Us Learn Thai Online Application Form
Learn Thai language with video (Transcription of the Thai narration and English translation can be found below the video clip)
 
 

รู้สู้ flood ตอนที่ 8 : รู้ทันน้ำเสีย 

Episode 8: Get to grip with putrid wastewater

(Transcription prepared by Everyday Thai language school)




ท่ามกลางวิกฤตน้ำท่วมที่ยาวนาน น้ำที่เริ่มเน่าเสียทำให้เราทุกคนต่างมองหาทางแก้ อีเอ็มบอลล์หรือลูกบอลจุลินทรีย์ก็เหมือนจะเป็นเสมือนความหวัง แต่มันก็ยังจะเป็นเหมือนความหวังว่าใช้ได้ผลจริงหรือเปล่า วันนี้เราจะมาทำความรู้จักมันให้มากขึ้นและร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียไปพร้อมๆกัน

With the flood going on for so long, water is beginning to go putrid. Everyone is looking to EM (effective micro-organism) balls in the hope that they will come to the rescue, but do they really work? Let’s learn about them, and come up with ways to solve the problem of putrid wastewater at the same time.

ก่อนจะเข้าใจเรื่องอีเอมได้เราต้องเข้าใจก่อนว่าน้ำเสียคืออะไร น้ำเสียไม่ใช่แค่น้ำที่มีสีดำหรือมีกลิ่นเหม็นแต่คือน้ำที่มีปริมารออกซิเจนไม่มากพอสิ่งมีชีวิตไม่อาจอาศัยอยู่ได้ ดังนั้นน้ำที่เราเห็นว่าใสแต่หากมีออกซิเจนไม่เพียงพอถ้ามีสารพิษเจือปนก็นับเป็นน้ำเสียได้เช่นกัน

Before looking at EM balls, we need to understand what putrid wastewater really is. It’s not just water that’s black or which smells foul, but water that doesn’t contain sufficient oxygen for any living organism to survive. Even if the water looks clear, it’s still regarded as being wastewater if it doesn’t contain sufficient oxygen or if it contains contaminants.

แล้วน้ำเสียเกิดจากอะไร เราลองไปตั้งต้นกันที่พื้นฐานซักนิดว่าในน้ำมีอะไรบ้าง 3 สิ่งที่มีในน้ำที่เราควรรู้จักได้แก่ 1 สารประกอบ เช่น ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟต และอื่นๆอีกมากมาย 2.สารอินทรีย์ละลายน้ำหรือก็คือซากพืชซากสัตว์และสิ่งต่างๆที่ทำปฎิกิริยาละลายอยู่ในน้ำ 3. จุลินทรีย์ซึ่งกินอาหารอินทรีย์ละลายน้ำเป็นอาหารโดยใช้สารประกอบต่างๆเป็นพลังงาน

Where does this wastewater come from? Let’s start from the very beginning, to see what this water has in it. The 3 things in water that we should know about are: 1. Its constituents, such as oxygen, hydrogen, carbon dioxide, sulphate and many other substances. 2. Water-soluble organic compounds, such as plant and animals remains and other matter, which have reacted with or dissolved in the water. 3. Micro-organisms which feed on these organic compounds, which gain their energy in various ways.

จุลินทรีย์แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนเป็นพลังงานหรือ Aerobic กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนหรือ Anaerobic และกลุ่มที่อยู่ได้ทั้ง 2 ภาวะถ้ามีออกซิเจนก็ใช้ถ้าไม่มีก็จะใช้สารประกอบอื่นๆ

Micro-organisms can be divided into 3 types: aerobic, which gain their energy from oxygen; anaerobic, which don’t need oxygen; and those that use oxygen if it is present, but can use other substances where it is not.

น้ำท่วมได้พัดพาสารประกอบและสารอินทรีย์จำนวนมากมาด้วย โดยมาในรูปแบบของขยะ ดินโคลนและสารอินทรีย์ละลายน้ำซึ่งเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเหล่าจุลินทรีย์

When it floods, lots of organic and inorganic substances are swept up with the floodwater in the form of litter, soil, mud and water soluble organic compounds, and create the perfect food source for micro-organisms.

ขณะที่น้ำยังมีออกซิเจน เจ้า Aerobic หรือกลุ่มที่ใช้อากาศก็จะใช้ออกซิเจนเป็นพลังงานในการกินสารอินทรีย์เมื่อมีอาหารมากก็กินมาก กินมากก็เพิ่มจำนวนมาก เพิ่มจำยวนมากก็ใช้พลังงานมาก ออกซิเจนจึงเริ่มน้อยลง เมื่อนั้นเองเจ้า Anaerobicซึ่งกินโดยใช้สารประกอบอื่นเป็นพลังงานได้ก็เริ่มคลองพื้นที่แทน แต่มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่ใช้ซัลเฟตเป็นพลังงาน เจ้าตัวนี้เองที่คลายผลผลิตหลังการกินออกมาเป็นไฮโดรเจนซัลเฟตหรือก็คือก๊าซไข่เน่าซี่งเป็นต้นเหตุให้น้ำมีกลิ่นเหม็นนั่นเอง

While the water still contains sufficient oxygen, the aerobic micro-organisms use this to eat up the organic compounds. The more food there is for them, the more they eat. The more they eat, the more of them grow, and the more of them there are, the more energy they use. As a result the amount of oxygen in the water diminishes. When this happens, the anaerobic micro-organisms that don’t need oxygen start to take over. There is one group, however, which lives off sulphate, and it’s this group which releases hydrogen sulphate (rotten egg gas) after it has fed. This is why the water stinks.

น้ำมีความสามารถในการบำบัดตัวเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว เช่นการไหลของน้ำจะทำให้น้ำมีออกซิเจนจากอากาศละลายลงสู่น้ำเพิ่มขึ้นหรือการที่น้ำมีจุลินทรย์ก็เป็นกลไกย่อยสลายตามธรรมชาติ

Water is pretty good at treating itself naturally. For instance, when the water flows, more oxygen from the air dissolves in the water, or when the water contains micro-organisms there are natural ways in which these decompose.

แต่บางครั้งเมื่อน้ำท่วมขังไม่มีการไหลหรือมีปริมารวารอินทรีย์ละลายน้ำปริมาณมากจนย่อยสลายตามธรรมชาติไม่ทัน เราก็ต้องแก้น้ำเสียด้วยมือเราเอง วิธีการแก้มีอยู่ 3 วิธีคือ การเติมออกซิเจน การใช้สารเคมีแลการลดปริมารสารอินทรีย์ละลายน้ำ

But sometimes when the floodwaters become trapped and stagnant, or when the levels of water-soluble organic compounds are so high that they can’t be dissolved, we have to step in to solve the problem ourselves. There are 3 ways to deal with it: adding oxygen, using chemicals, and reducing the level of water-soluble organic compounds.

แล้วอีเอมคืออะไร อีเอมย่อมาจาก Effective Microorganisms หรือจุลินทรีย์ที่เก่งเฉพาะด้าน เราต้องเข้าใจก่อนว่าจุลินทรีย์ก็เหมือนกับมนุษย์ จุลินทรีย์แต่ละพวกจะมีขนาดต่างกันเหมือนมนุษย์ที่มีหลายอาชีพ ส่วนใครจะเป็นจุลินทรีย์ดี จุลินทรีย์ไม่ดีก็แล้วแต่วาระกันไป เพราะจุลินทรีย์ที่เราถือว่าไม่ดีบางตัวก็สามารถทำประโยชน์ได้ในบางโอกาส เช่นจุลินทรย์บางกลุ่มที่ทำให้น้ำเสียก้มีส่วนในกระบวนการสร้างไบโอแก๊สเป็นต้น

And what is EM? “EM” stands for “Effective Micro-organisms”, or micro-organisms which targets specific things. Micro-organisms are like people. Just as people have lots of different occupations, each group of micro-organisms has different skills. Whether a micro-organism is “good” or “bad” depends on the task in hand. Some micro-organisms which we regard as “bad” are good in certain situations. For instance, some of the groups of micro-organisms which make water go putrid can be used to produce biogas.

หลักการทำงานของอีเอมก็คือ การคัดจุลินทรีย์ที่เก่งในด้านที่เราต้องการเพื่อนำมาใช้ มีหลายสูตรแตกต่างกันออกไปที่พบชเห็นมากในสูตรอีเอมก็ได้แก่ พวกจุลินทรย์ผลิตกรดแลคติคและยีสต์ จุลินทรียืทั้ง 2 ประเภทเป็นพวกที่อยุ่ได้มีและไม่มีออกซิเจน ทนต่อสภาพเป็นกรดของน้ำเสียทำให้สามารถลงไปช่วยย่อยสารอินทรีย์ได้โดยไม่ตายซะก่อน

EM works by selecting the micro-organisms best suited for doing the job for which we need them. There are lots of different formulas, the most common being lactic acid bacteria and yeasts. Both can live either with or without oxygen, can withstand high acidity levels in water, and can help break down organic compounds without themselves dying.

อีกพวกที่พบมากในสูตรอีเอ็มคือจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงซึ่งสามารสังเคราะห์ก๊าซไข่เน่าให้เป็นซัลเฟตลดปัญหาเรื่องกลิ่นได้ แต่ได้ยินคำว่าสังเคราะหฺแสงแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจว่ามันจะคลายออกซิเจนได้เหมือนพืช เนื่องจากมันไม่มีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ มันจึงไม่สามารถผลิตออกซิเจนมาเติมให้น้ำได้ทำได้เพียงสังเคราะห์แสงมาเป็นพลังงานให้ตัวเองเท่านั้น

Another group frequently found in EM formulas is photosynthetic bacteria, which can turn hydrogen sulphate into sulphur, and so help get rid of the foul smell. Just because they used photosynthesis, it doesn’t mean that they emit oxygen like plants. As they don’t contain chlorophyll, they can’t produce oxygen for the water, but instead can only photosynthesize to create energy for their own needs.

จุลินทรียืที่ผลิตออกซิเจนได้คือพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่แล้วในน้ำท่วมซึ่งมีอาหารของมันมากกว่าปรกติแต่ในขณะที่มันผลิตออกซิเจนมันก็ใช้ออกซิเจนเช่นกัน โดยเฉพาะตอนกลางคืนทำให้ออกซิเจนในน้ำอาจจะหมดไปได้

Blue-green algae, which can produce oxygen, is already found in the floodwater, where it has more nutrients to feed off than normal. But while it produced oxygen, it uses oxygen too, especially at night, which can deplete the oxygen in the water.

รู้จักอีเอ็มคร่าวๆไปแล้วเราลองไปหาคำตอบสำหรับคำถามมากมายที่อาจเกิดในช่วงนี้กัน ทำไมถึงมีบางเสียงบอกว่าไม่ได้ผล ประเด็นแรกที่ถุกพูดถึงเสมอคือ ใช้อีเอ็มไม่เหมาะกับน้ำท่วม

Now we know a little about EM, let’s try to answer some of the questions we’re all asking. Why do some people say that it doesn’t work? The first thing that people often say is that EM isn’t suitable for floodwater.

จุดกำเนิดของอีเอ็มเกิดขึ้นเพื่อใช้ในการเกาตรกรรมของประเทศญี่ปุ่น ต่อมาจึงถูกพัฒนาให้น้ำมาใช้ตามบ้าน ขัดพื้น ซักผ้า ล้างส้วมซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นพื้นที่ควบคุมคำว่าพื้นที่ควบคุมคือพื้นที่ที่เรารู้สภาพของน้ำ รู้ว่ามีอะไรในน้ำบ้าง รู้ขนาดว่ากว้าง ยาว สูงเท่าไหร่เพื่อให้เราเลือกใส่จุลินทรีย์ได้ถูกประเภทและถูกปริมาณ

EM originated for use in agriculture in Japan, after which it was developed for household use to polish floors, wash clothing and clean toilets, all of which are carried out in controlled locations. A controlled location is one in which we know the condition of the water. Because we know what’s in the water and we know its physical dimensions, we can select the right type and quantity of micro-organisms to use.

การใส่อีเอ็มลงไปในน้ำเสียก็เปรียบเหมือนการส่งทหารออกไปรบ เราต้องเลือกทหารให้ถูกประเภทเพราะทหารอากาศอาจไม่เชี่ยวชาญการต่อสู้บนพื้นดินเท่าทหารราบ รวมถึงจำยวนทหารที่ส่งไปถ้าศัตรูมีหนึ่งแสน เราก็ควรส่งทหารไปอย่างสมน้ำสมเนื้อเว้นแต่ว่าจุลินทรีย์ของเราจะมีประสิทธิภาพสูงมากๆก็อาจพอสู้ได้ในระดับหนึ่ง

Putting EM in the wastewater is like sending troops out to battle. We have to choose the right type of personnel as Air Force personnel might not have the same land battle expertise as ground soldiers. We also have to know how many troops to send. If there are 100,000 enemies, we need to send an appropriate number of troops. Our micro-organisms are highly effective, however, so they should be able to fight to a certain extent.

แต่สำหรับน้ำท่วมทุกพื้นที่มีความแตกต่างกัน บางพื้นที่เป็นถนน เป็นพื้นที่เปิดพื้นที่น้ำไหลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่สามารถตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำได้ จึงทำให้แตกต่างจากการใช้อีเอ็มในบ่อปล่าหรือทำความสะอาดพื้นบ้าน การโยนอีเอ็มบอลล์ลงไปในน้ำไหลซึ่งมีการหมุนเวียนออกซิเจนอยู่แล้วอาจทำให้จุลินทรีย์ในอีเอ็ม ไปแย่งใช้ออกซิเจนจนทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง

But when it floods, each location is different. Some places are roads, some are open places, some have water flowing through. It’s constantly changing too, and you can’t check what contaminants the water contains. This is very different from using EM in a fish pond or to clean household floors. If you throw an EM ball into flowing water, in which oxygen is circulating, the micro-organisms in the EM might compete for the oxygen and cause the oxygen in the water to decrease even more.

สุดท้ายแล้วจุลินทรีย์จะทำงานได้ตลอดรอดฝั่งหรือเปล่าก็ไม่สามารถประเมินได้ ประเด็นที่สองคือเรื่องจุลินทรีย์เจ้าถิ่นโดยธรรมชาติของจุลินทรีย์มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบอยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับตัวเองและอีเอ็มก็ถือว่าเป็นจุลินทรีย์ต่างถิ่นเมื่อมันต้องมาอยู่ในที่ใหม่ที่ไม่คุ้นเคยมันก็ไม่อาจแย่งอาหารจากจุลินทรีย์เจ้าถิ่นได้ เมือขาดอาหารก็ตายและตกเป็นอาหารของจุลินทรีย์เจ้าถิ่นแทน นั่นแปลว่าการโยนอีเอ็มโดยไม่ศึกษาให้ดีอาจส่งผลให้น้ำเน่าเสียมากขึ้นก็เป็นได้

Can EM really do everything we want it to? The second issue is that of native micro-organisms. By nature, micro-organisms like to live in the conditions for which they are most suited, and EM are regarded as invaders. When they live in new places with which they are not familiar, they might compete for nutrients with the native micro-organisms. If they starve they can die, and simply become food for the native micro-organisms that were there before them. In other words, careless use of EM can in fact make the water more putrid.

และวิธีการใช้อีเอ็มที่ถูกต้องคืออะไร เราต้องแยกแยะระหว่างอีเอ็มกับอีเอ็มบอลล์ให้ได้ก่อน จากวิธีการทำอีเอ็มบอลล์สูตร 1 เริ่มต้นที่หัวเชื้อจุลินทรีย์หรือที่เราเรียกกันติดปากว่าอีเอ็มน้ำนำไปผสมกับกากน้ำตาลและน้ำได้ออกมาเป็นอีเอ็มขยาย นำอีเอ็มขยายไปผสมกับรำละเอียด รำหยาบ ดินทราย ปั้นเป็นรูปจึงกลายเป็นอีเอ็มบอลล์ ดังนั้นการนำอีเอ็มหัวเชื้อไปราดเลยก็ใช้ได้เช่นกันแต่ที่ต้องผสมกากน้ำตาลก็เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ที่ต้องปั้นเป็นรูปก็เพื่อถ่วงน้ำหนักให้จุลินทรีย์ลงไปทำงานได้ลึกถึงใต้น้ำ

So how do you use EM correctly? We need to differentiate between EM and EM balls. One way of making an EM ball is to use a liquid EM culture, which we mix with sugar and water to make expanded EM. This we mix with fine rice bran, coarse rice bran and sans, and mould this into a ball. You can simply use the EM liquid neat and pour it straight in, but adding sugar increases the number of micro-organisms, and rolling it into a ball balances the weight so that the micro-organisms can get to work deep under the water.

ระหว่างการใช้และการปั้นอีเอ็มทุกชนิดควรสวมถุงมือเพื่อป้องกันจุลินทรีย์บางตัวที่อาจทำปฎิกิริยากับผิวหนังจนเกิดความผิดปกติได้และ เมื่อปั้นเสร็จควรตากอีเอ็มบอลล์ไว้ในร่มอย่างน้อย 7 วันเพื่อให้จุลินทรีย์ได้กินกากน้ำตาลและขยายพันธุ์ก่อนใช้ ถ้าใช้โดยไม่ทิ้งไว้กากน้ำตาลจะยังอยู่แทนที่จะได้จุลินทรีย์เพิ่มจะกลับกลายเป็นการเพิ่มสารอินทรีย์ลงไปแทน

When using and moulding EM balls, you should always wear rubber gloves to protect your skin against some micro-organisms that could damage it. When you’ve moulded your EM ball, you should leave it to dry in the shade for at least 7 days, so that the micro-organisms can eat the sugar residue and breed before you use them. If you use it without leaving it to dry first, the continued presence of the sugar residue will mean that instead of making more micro-organisms, you’ll increase the level of organic compounds instead.

สรุปแล้วเราควรใช้อีเอมส์แก้ปัญหาน้ำเน่าเสียรึเปล่า จากที่กล่าวมาทั้งหมดอาจถือว่าข้อมูลยังไม่เพียงพอ จึงสรุปได้ว่าอีเอ็มจะใช้กับน้ำท่วมครั้งนี้ได้ผลหรือไม่เพราะยังมีปัจจัยมากมายที่ต้องคำนึงถึงในการใช้แต่ละครั้ง แม้อีเอ็มบางส่วนมีส่วนประกอบที่สามารถลดกลิ่นได้จริงแต่การใช้ผิดสูตร ผิดวิธี ผิดปริมาณก็ยิ่งอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้เช่นกัน

So should we use EM to solve the problem of putrid floodwater or not? From what we’ve seen, it looks as if we don’t have sufficient information to say whether using EM in the current situation will be effective or not, as there are so many factors that we have to take into consideration. Although some formulas of EM can help reduce the putrid smell, if you use the wrong formula, the wrong method, or the wrong amount, it might simply make the water more putrid.

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญหากต้องการจะใช้ต้องศึกษาให้ดีก่อนและใช้ให้ถูกวิธีเพราะอีเอ็มก็เป็นเพียงจุลินทรีย์ธรรมดาไม่ใช่ของวิเศษที่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง แต่สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาให้เราได้คือความรู้และความเข้าใจ

If you want to use EM, it’s vital that you first study how to use it and make sure you use it correctly. EM is simply a normal micro-organism, not a miraculous panacea. It’s knowledge and understanding that can help us.

ถึงการใช้อีเอ็มจะยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนนักต่เรายังมีอีกทางเลือกหนึ่งเป็นวิธีง่ายๆที่เราทุกคนสามารถร่วมมือกันทำได้ นั่นก็คือการเก็บขยะและลดการทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำนั่นเอง

Even though there isn’t yet a clear answer on the use of EM, we do have another option to reduce the level of water-soluble compounds in the water just as EM does. This is something that we can all do together by collecting litter and refraining from throwing litter into the water.

สำหรับใครที่อยากศึกษาเรื่องการใช้และประเภทของอีเอ็มบอลล์เพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้จากลิงค์ที่เรารวบรวมไว้ด้านล่าง ลองต่อยอดความรู้ด้วยตัวเองดูนะครับ

If you want to know more about how to use EM and the types of EM available, click on the links below to increase your understanding.

ตอนต่อไป สำหรับหลายครอบครัวที่น้ำเริ่มลดลงบ้างแล้ว เราจะพาไปตั้งหลักเพื่อเตรียมพร้อมรับมือการฟื้นฟูหลังน้ำท่วมกันครับ

In the next episode: for those families for whom the floodwater is beginning to recede, we’ll look at how to start the renovation process once the waters have gone down.



 
 
 
 
© Everyday Thai Language School. All rights reserved.