Everyday Thai language school  



่Join Everyday Thai language school on Facebook
   
Thai Courses French Lessons Tuition Fees Teaching Materials Contact Us Learn Thai Online Application Form
Learn Thai language with video (Transcription of the Thai narration and English translation can be found below the video clip)
 
 

รู้สู้ flood ตอนที่ 1 รู้จักน้ำท่วมให้มากขึ้น - 

Episode 1: Getting a better understanding about the flood situation

(Transcription prepared by Everyday Thai language school)



ถ้าเราลองสังเกตรอบตัวดูเราจะพบว่า ในช่วงวิกฤตน้ำท่วมมีคนมากมายหลายประเภท บางคนติดตามข่าวเกาะติดสถานการณ์ตลอด แต่โทรทัศน์ก็ไม่ได้ให้ข้อมูลที่อยากรู้ หันไปเลือกข้อมูลที่อยากกรู้ทางอินเตอร์เน็ตก็มีล้นซะจนเลือกไม่ถูก แค่ค้นหาคำว่าน้ำท่วมใน google.com ก็จะเจอผลการค้นหาถึง 36 ล้านรายการ ที่นี้ยังไม่ทันที่น้ำจะท่วมน้ำก็เจอข้อมูลท่วมซะก่อน

If we take a look around during the flood crisis, we can see that they are many different types of people. Some are news maniacs who have to know the latest situation. When TV news is not enough, they turn to the internet only to get bombarded by the immense amount of information the internet has to offer. Typing in “flood” in the Google search bar alone will get a return of 36 million hits. This is called “information flood”, which takes place even before the actual flooding.

บางคนทำทุกอย่างที่แชร์มาในเฟสบุ๊ค ตุนข้าวของเอารถไปจอดบนทางด่วน ซื้อเรือ ตื่นตูมไปกับทุกข่าวทุกข้อมูล แต่บางคนก็เฉยๆเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นก็เพราะเราไม่รู้ว่าตกลงมันจะเกิดอะไรขึ้นกันแน่

Some people follow every method they found shared on facebook. They hoard food and supplies, use the elevated expressway as parking space, buy a boat, and panic over every small piece of information. But some are unusually calm, as if nothing has happened. All this is because no one knows for sure what will happen.

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าทำไมน้ำท่วมปีนี้ถึงหนักหนากว่าที่ผ่านมา น้ำมาจากไหน น้ำมาจากฝน ซึ่งตกตามธรรมชาติอยู่แล้วทุกปี ประเทศไทยมีลักษณะเป็นพื้นที่ลาดเอียง ดังนั้นฝนที่ตกลงมาท่วมขังอยู่บนพื้นดินจะไหลลงจากภาคเหนือไปสู่อ่าวไทยตามธรรมชาติ สมัยก่อนฝนที่ตกลงมาบนพื้นดินจะไหลไปตามวิถีดังกล่าวโดยมีผืนป่าเป็นเสมือนเขื่อนธรรมชาติ ช่วยซึมซับและชะลอความเร็วของน้ำ เวลาผ่านไปเทคโนโลยีทำให้เรามั่นใจว่า เราจะควบคุมน้ำได้ เราจึงสร้างเขื่อนให้เราสามารถควบคุมการใช้น้ำวางแผนการกักเก็บและปล่อยมันตามที่เราต้องการ ป่าซึ่งเป็นพื้นที่ซับน้ำทะยอยกลายเป็นหมู่บ้านจัดสรร นิคมอุตสาหกรรมและอื่นๆ จากที่วิถีของน้ำขึ้นอยู่กับวิถีธรรมชาติกับการควบคุมของมนุษย์แทน และเมื่อมีการควบคุมจึงมีความเป็นไปได้ที่จะเสียการควบคุม

First of all we need to understand why this year’s flood is more severe than those in the past years. Where does all the water come from? The water is all rainwater, which occurs normally every year. Thailand us geographically sloped. Naturally, the rainwater from the north will flow southward to the Gulf of Thailand. In the past, the flow of the water would be absorbed and delayed by our vast forests, which acted as natural dams and water gates. As time goes by, men, equipped with technology, wanted to control the flow of water themselves. We built dams to control water, to hold and release water whenever we like. The forests were slowly destroyed and became industrial parks and housing estates, among other industrial developments. The control over the flow of water changed hands from Mother Nature to men. Inevitably, when there is control, there is also the possibility of losing control.

ปี 2554 ปริมาณน้ำฝนรวมตั้งแต่ต้นปีไม่แตกต่างจากปีก่อนๆมากนัก แต่ด้วยเหตุที่ฝนตกอย่างหนาแน่นในช่วงเดือนกันยายนเป็นต้นมา จึงทำให้ปริมาณน้ำมีมากกว่าปรกติ จากทุกปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้ปีนี้เรามีมวลน้ำขนาดใหญ่ประมาณ 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตรค้างอยู่บนภาคพื้นดิน หากเทียบน้ำหนักน้ำทั้งหมดนี้ ก็เปรียบได้กับปลาวาฬสีน้ำเงินประมาณ 50 ล้านตัว เมื่อเหล่าปลาวาฬอยู่ผิดที่จึงเป็นอุปสรรคต่อความเป็นอยู่ของประช าชน บ้างก็มีปลาวาฬในบ้าน คนในบ้านจึงต้องไปอาศัยอยู่บนหลังคา บ้างก็ทำลายเส้นทางการจราจร

The total rainfall in 2011 was fundamentally the same as the past years, but since we have been experiencing heavy and frequent rain since September, the amount of rainwater is more than usual. All these factors led to the current situation where we have 100 billion cubic meters of water on land. This equals the weight of 50 million blue whales. People’s lives get disrupted by these whales. Some whales slipped into people’s houses and drove the owners up the roof. Some whales stayed on roads, obstructing traffic.

ดังนั้นการแก้ปัญหาคือ เราต้องพาปลาสวาฬกลับสู่อ่าวไทยให้ได้เร็วที่สุด เรามีเส้นทางการระบายปลาวาฬอยู่ 3 ทางคือ แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งทำให้เราพาปลาวาฬกลับสู่ทะเลได้เพียงวันละประมาณ 1 ล้านตัว นั่นหมายถึงเราต้องใช้เวลาประมาณ 50 วันจึงจะพาปลาวาฬกลับสู่ทะเลได้หมดู่

The aim is to get these whales to the Gulf of Thailand as fast as possible. Currently there are three routes that we can use to bring the whales to the sea: Tha Jeen River, Bang Pakong River and Chao Praya River. These routes have the capacity of bringing only one million whales into the sea each day. That means we will need 50 days to bring all the whales into the sea.

หลายคนมีคำถามว่าถ้าปล่อยให้น้ำท่วมกรุงเทพจะช่วยให้ระบายน้ำได้ดีขึ้นมั๊ย ด้วยพื้นที่ประมาณ 1,600 ตารางกิโลเมตรของกรุงเทพสมมติว่าปล่อยให้น้ำท่วมสูง 1 เมตรในทุกพื้นที่คือท่วมเท่าระดับหน้าอก เราจะสามารถแบ่งเบาปลาวาฬได้ 8 ล้านตัวแต่การระบายน้ำยังเท่าเดิมและเรายังต้องใช้เวลาอีก 42 วัน ในการระบายปลาวาฬ 42 ล้านตัวที่เหลือ

The big question we all want to know is: “Will the whales go into the sea quicker if we let water in and allow the capital to flood?”. The size of Bangkok is about 1,600 square meters. If we allow 1 meter of water (chest level) in all areas, we can relieve the outer areas of 8 million whales. But with the same flow rate, we would still need 42 days to bring the 42 million whales to the sea.

แล้วเราจะทำยังไงดี ปัญหานี้กำลังถูกแก้ยังไง นโยบายที่รัฐบาลกำลังดำเนินอยู่คือ ปกป้องคันกั้นน้ำให้ดีที่สุด ระหว่างที่รอให้น้ำระบายออกจนหมด เพื่อไม่ให้น้ำเข้ากรุงเทพซึ่งเป็นศูนย์กลางการแก้ไขวิกฤตน้ำท่วม ดังนั้นไม่ว่าวิธีการใดก็ตามประเทศไทยจะยังอยู่กับสถานการณ์น้ำท่วมไปอีก 1 เดือนเป็นอย่างน้อย


So what are we going to do? What is being done to solve the problem? The government’s policy is to protect the water levees and hope that they will stop the water from flooding inner Bangkok, which is where the central command is located, and wait for the water to drain into the sea, whichever way, Thailand will be facing floods for no less than a month.

อีกเรื่องนึงที่ต้องคำนึงถึงคือแรงดันน้ำ นึกภาพปลาวาฬที่อยากลงทะเลเต็มแก่จึงออกแรงดันคันกั้นน้ำที่ขวางทางอยู่ เมื่อไหร่ที่คันกั้นน้ำไม่สามารถทนแรงดันของปลาวาฬได้ ปลาวาฬก็จะเข้ามาว่ายเล่นในกรุงเทพ คำถามคือคันกั้นน้ำจะต้านทานได้ถึงเมื่อไหร่ คำตอบจากนักวิชาการมีหลากหลาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการประมาณการณ์ทั้งสิ้น นั่นแปลว่าตราบใดที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนเรื่องความเสี่ยง คนกรุงเทพก็ยังมีความเป็นไปได้เช่นกันที่จะตกเป็นผู้ประสบภัย

Another great concern is water pressure. Imagine the whales, anxious to go back to the sea, pushing the levees obstructing their way. As soon as the levees cannot stand the pressure, the whales will come splashing into the inner parts of Bangkok. So the question is can the levees hold? If not, when will they collapse? Academics have different opinions, and these opinions are based on mere estimates. This means that as long as there are no clear answers regarding the risk, Bangkokians are still under risk of becoming flood victims.

ในเมื่อเราคาดหวังคำตอบเรื่องทางแก้ปัญหาไม่ได้ การเสพย์ข้อมูลจำนวนมากจะยิ่งทำให้เราตื่นตูมโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นสิ่งที่เราน่าจะทำได้ดีกว่าตอนนี้คือตั้งสติและตั้งคำถามว่าเราจะเตรียมตัวอย่างไรให้เราไม่ตกเป็นผู้ประสบภัย แม้จะอยู่ใน ภาวะน้ำท่วม

Since there is no clear answer/solution to the floods, overloading ourselves with information will only lead to useless panic. The only thing we can do right now is to stay calm and focus on how to prepare ourselves for the situation so that we would not be affected so badly.

ตอนต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องวิธีการตั้งต้นเพื่อเตรียมตัวรับมือน้ำท่วมอย่างมีสติ

Stay tuned for the next episode on how to prepare yourself calmly for the flood.






 
 
 
 
© Everyday Thai Language School. All rights reserved.