Learn Thai in Bangkok

Thai language readers for advanced learners (self-study) : Reading comprehension 13

เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

พลเมืองสูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นกำลังเป็นปัญหาท้าทายในประเทศไทย



โดย Pros Laput / ประภัสสร อักขราสา | Bangkok / กรุงวอชิงตัน วันจันทร์, 09 พฤษภาคม 2011

การเติบโตขยายตัวอย่างคึกคักของหลายประเทศในเอเชียในระยะไม่กี่สิบปีมานั้น ส่วนหนึ่งได้รับการกระตุ้นจากแรงงานรุ่นหนุ่มสาวที่มีเป็นจำนวนล้นเหลือ อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศในเอเชียเหล่านั้นดำเนินนโยบายส่งเสริมให้ลดอัตราการเกิด ประกอบกับการที่คนมีอายุยืนยาวขึ้น นำไปสู่การมีกำลังแรงงานสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยรวมอยู่ในประเทศเหล่านั้นด้วย

คนวัยทำงานในชนบทโดย เฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งทำไร่ทำนาเป็นส่วนใหญ่ มักไปทำงานในเขตเมืองในฤดูแล้งหลังการเก็บเกี่ยว แต่ในระยะไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาความต้องการคนงานตามโรงงานอุตสาหกรรมมีมาก ขึ้น ทำให้การเข้าเมืองไปทำงานในเมืองเป็นการอพยพถาวร เมื่อคนหนุ่มสาวไปหางานทำในเมืองมากขึ้น จึงเหลือแต่คนอายุมากและเด็กอยู่ตามหมู่บ้าน

รองศาสตราจารย์ดุษฎี อายุวัฒน์ แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ศึกษาการอพยพเข้าเมืองของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมานานกว่า 20 ปีกล่าวว่า คนส่วนใหญ่ที่อพยพไปทำงานงานในเมืองอายุยังน้อย ราว15 ปี เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐานก็อยากไปทำงานนอกหมู่บ้าน และจะทำงานไปจนอายุราว 40 ปี

ไร่นาที่เคยอาศัยแรงคนก็เปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรกลในการเพาะปลูกเก็บเกี่ยว ซึ่งเท่ากับว่า มีโอกาสในการทำงานน้อยลงสำหรับคนอายุมาก

ปัญหานี้เกิดขึ้นคล้ายๆ กัน ในจีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ซึ่งคนอายุมากกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าในประเทศตะวันตก สำหรับในประเทศไทยคาดว่า จำนวนคนสูงอายุจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวใน 20 ปีข้างหน้า เนื่องจากนโยบายควบคุมอัตราการเกิด

คุณโสภณ แท่งเพ็ชร์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ศึกษาแนวโน้มเรื่องนี้สำหรับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ กล่าวว่า จังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะมีคนสูงอายุเพิ่มขึ้นรวด เร็วกว่าภาคอื่นๆ และว่าประเทศไทยมีเวลาเตรียมตัวน้อยมากในแง่การจัดหาสวัสดิการสำหรับพลเมือง กลุ่มที่กำลังมีอายุมากขึ้น นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่า มีงานที่จะต้องทำกันอีกมากในการที่จะช่วยเหลือคนสูงอายุ และว่ารัฐบาลจะสนับสนุนโครงการริเริ่มต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นในการบริหารงานระบบสวัสดิการด้านนี้

แม้คนสูงอายุจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลคนละ 500 บาท และบางคนมีลูกทำงานส่งเงินมาช่วยในการครองชีพ แต่ก็ไม่เพียงพอ และบางคนไม่มีความช่วยเหลือจากลูก จึงต้องทำงานเพื่อจะได้มีรายได้เพิ่ม

คุณ โสภณ แท่งเพ็ชร์กล่าวว่า คนที่อายุมากขึ้นเหล่านั้นต้องการทำงาน เพราะไม่ต้องการเป็นภาระให้ผู้ใด และต้องการที่จะยังมีคุณค่าสำหรับสังคมและครอบครัว คุณโสภณ เห็นว่า ประเด็นสำคัญของการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับคนอายุมากในชนบทนั้น อุตสาหกรรมในชุมชนอาจเป็นทางออกทางเศรษฐกิจที่สำคัญ และขณะที่มีคนอายุมากถูกทิ้งไว้ในชนบทเป็นจำนวนมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ชุมชนท้องถิ่นจำเป็นต้องมีบทบาทมากขึ้นในการช่วยเหลือคนเหล่านั้น

ค้นหาบทความนี้ได้ที่:
VOA News Thai

คำศัพท์





การจ้างงาน = employment
เก็บเกี่ยว = to harvest
ขยายตัว = to expand, to get bigger
ขั้นพื้นฐาน = basic
ครองชีพ = to make a living, to support (oneself)
เครื่องจักรกล = machinery
คล้าย = similar, nearly alike
คึกคัก = animated, busy, lively
คุณค่า = value, worth
จัดหา = to provide, to procure, to find
ชนบท = rural area, countryside
ชุมชน = community
ชุมชนท้องถิ่น = local community
เติบโต = to grow up, to mature
ถาวร = permanent, lasting
ทำไร่ทำนา = farming
ทิ้งไว้ = to leave behind
เท่ากับว่า = to mean
แนวโน้ม = trend, tendency
บทบาท = role
บริหารงาน = management
เป็นภาระ = to be a burden
พลเมือง = population, civilian
รองศาสตราจารย์ = Associate Professor
ริเริ่ม = to initiate, to begin, to be the first (to do something)
แรงคน = manpower
แรงงาน = labor
ไร่นา = rice field
ฤดูแล้ง = dry season
ล้นเหลือ = super abundant, more than enough
วิเคราะห์ = to analyze
สวัสดิการ = welfare
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ = International Labour Organization
อพยพ = to migrate, to settle
อัตราการเกิด = birth rate
อายุยืนยาว = long-lived
อาศัย = to rely, to count on, to use, to live
อุตสาหกรรม = industry, industrial